วันพุธที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โครงการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ

โครงการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ
1 . หลักการและเหตุผล
   1. ตำแหน่งนวด (จุดนวด)
เป็นตรงไหนควรจะนวดจุดไหน เรื่องนี้ขึ้นกับการวิเคราะห์โรคให้ถูก วิเคราะห์ไม่ถูกก็จะนวดไม่ถุกจุด
   2. ท่านวด
หมายถึงท่าของทั้งหมอและคนไข้ ต้องคิดดูว่าคนไข้ควรจะนั่ง นอนหงาย หรือนอนตะแคงนวดถึงจะดี สำหรับการนอนคว่ำนวดคงจะไม่เหมาะ อย่างเช่น คนอ้วนจะติดที่พุง หรือผู้หญิงจะติดที่หน้าอก ท่านวดนี้จะรวมไปถึงองศาที่ตัวหมอทำกับคนไข้ ที่สำคัญต้องอยู่ในท่าที่สบายทั้งหมอและคนไข้
   3. แรงที่ใช้นวด
เราควรเริ่มต้นจากน้อยไปก่อน และค่อยๆ เพิ่มขึ้น การออกแรงนวดนี้เป็นความรู้สึกละเอียดอ่อน จะบอกว่าเป็นโรคนี้ต้องใช้แรงเท่านี้ไม่ได้ เพราะคนไข้คนเดียวแต่ในระยะเวลาที่ต่างกันก็อาจต้องใช้แรงที่ต่างกันไปด้วย
   4. เวลาที่ใช้นวด (แต่ละจุด)
เราต้องทราบว่าจะนวดอยู่นาน หรือนวดเพียงระยะสั้น และเวลาปล่อยจะต้องค่อยๆ ปล่อย ใช้เวลาเท่าไร ไม่ใช่กดปุ๊บปล่อยปั๊บเพราะคนไข้จะระบม
   5. นวดที่ไหน (ก่อน-หลัง)
จะกดนวดบริเวณใดก่อนเช่น ตรงคอไหล่เรียงไปตามตำแหน่ง 1 2 3 4 หรือจะเป็น 4 3 2 1 ต้องรู้เช่นกันว่านวดอย่างไรให้ได้ผลดีที่สุด
   6. การนวดซ้ำในแต่ละคราว
เมื่อนวด 1 2 3 4 ไป 1 รอบแล้ว ต้องนวดอีกกี่รอบ อาจเป็น 2 รอบ หรือ 3 รอบ ต้องรู้หรือพิจารณาให้เหมาะสม มิฉะนั้นคนไข้อาจจะระบม
   7. นวดกี่ครั้งจึงหาย
หมอที่ชำนาญจะบอกอาการได้ว่าอาการอย่างนี้นวดกี่ครั้งหาย คนไข้ไม่ว่าจะรักษาแผนไหนก็ตามอยากรู้ว่าตนเป็นอะไร นานแค่ไหนกว่าจะหาย สิ่งนี้สำคัญมากที่หมอต้องทราบและบอกคนไข้ได้
   8. ระยะถี่ห่าง
กี่วันคนไข้ถึงต้องไปหาหมอครั้งหนึ่ง เป็นสิ่งที่คนไข้อยากทราบเช่นกัน ไม่ใช่นวดทุกๆ วัน คนไข้อาจระบม บางครั้งต้องหยุดให้เวลาร่างกายรักษาตนเองบ้างเพราะธรรมชาติเป็นอย่างนั้น จึงอาจนวดครั้งหนึ่งแล้วเว้นไปสัก 2-3 วัน เป็นต้น
   9. ผลดีผลเสีย
เมื่อเราตรวจตามขั้นตอนแล้วจะต้องพิจารณาว่าเมื่อนวดแล้วจะมีผลดีผลเสียแค่ไหน ถ้าดี ดีเพียงไร เช่นทำ 3 ครั้งพอหรือ 3 ครั้งมากไป ผลเสียก็ต้องคิดเช่นกันไม่ใช่นวดแล้วขออีกนิด นวดมากไปจนคนไข้ได้รับอันตราย เราจะทำอะไรต้องรอบคอบมีสติสัปชัญญะอยู่เสมอ
   10. ข้อควรระวัง
ทั้งคนไข้และหมอเช่น ถ้าหมอเป็นโรคติดต่อ ก็ไม่ควรไปนวด คนไข้เป็นโรคติดต่อก็ควรรักษาให้หายก่อนจึงไปนวด หรือจุดนวดบางจุด เช่น บริเวณไหปลาร้าหรือใต้รักแร้ ถ้ากดนวดนานไปจะเกิดอันตรายต่อคนไข้ก็ต้องระวัง เป็นต้น
   11. ข้อห้าม (คนไข้, หมอ)
ทำอะไรต้องมีข้อห้าม อย่างเช่น คนไข้เป็นไส้ติ่งอักเสบ ถ้าไปกดท้องไส้ติ่งแตกคนไข้ก็อาจตายได้ หรือโรคบางโรคไตหย่อนยานลงมา เราไปกดก็อาจเป็นอันตรายต่อคนไข้ได้ เป็นต้น สำหรับหมอ ถ้าไม่แข็งแรงเพราะป่วยหรือเพิ่งหายไข้ ก็ไม่ควรออกแรงนวดคนไข้เช่นกัน
   12. จริยาธรรม
แน่นอนที่สุดอาชีพใดไม่มีจริยธรรมควบคู่กันไปไม่ช้าก็ต้องพินาศ เราต้องรู้ตลอดเวลาว่าเราจะไม่หลอกคนไข้ ไม่ลวนลามคนไข้หญิงด้วยกาย วาจา ใจ เป็นต้น


2 . วัตถุประสงค์
   1 . เพื่อการบำบัดรักษาโรค เช่น ปวดเรื้อรังตามตัว ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง 
   2 . เพื่อสร้างความผ่อนคลาย สมองก็รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สงบ บางคนสบายตัวสบายใจจนอยากนอนหลับ
   3 . เพื่อผิวหนังจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันที่ผิวหนังทำงานผลิต   น้ำมัน ออกมาหล่อเลี้ยงผิวได้ดียิ่งขึ้น
   4 . อวัยวะต่าง ๆ ได้มีการเคลื่อนไหว ระบบต่าง ๆ ภายในตัวเขาก็จะทำงานได้ดีขึ้น


3 . กลุ่มเป้าหมาย
   ประชาชนทั่วไป ไม่ว่าหญิง ชายที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพ


4 . วิธีการดำเนินงาน
    1 . นวดเป็นเวลา 1- 2 ชม ต่อวัน
    2 . จดบันทึกเวลาที่นวดผ่อนคลายตามร่างกาย
    3 . สังเกตุสุขภาพร่างกายเราว่าดีขึ้นมากน้อยเท่าใด


5 . ระยะในการดำเนินงาน
     อาทิตย์ละ 3 ครั้ง จำนวนวัน 5 - 6 เดือน ตั้งแต่ 1 มกราคม - 1 มิถุนายน 2554
6 . สถานที่ดำเนินการ
     คลีนิกการแพทย์แผนไทย


7 . งบประมาณ
     ประมาณ 30,000 บาท


8 . ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด ทำให้ยืดคลาย ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ การเคลื่อนไหวของร่างกายสะดวกขึ้น
  • การไหลเวียนของโลหิต ทำให้หลอดเลือดยืดขยาย การไหลเวียนของเลือดแรงขึ้น ทำให้ร่างกาย สดชื่น เสริมสร้างการทำงานของอวัยวะ
  • ระบบประสาท ทำให้เกิดการกระตุ้นของระบบประสาท ความรู้สึกตอบสนองต่อธรรมชาติสิ่งแวดล้อมดีขึ้น มีความตื่นตัว ในการทำงาน
  • ข้อต่อกระดูก ทำให้การเคลื่อนไหวคล่องขึ้น ยืดอายุการใช้งาน
  • อารมณ์และจิตใจ ทำให้ผ่อนคลาย รู้สึกอบอุ่น
9 . ผู้รับผิดชอบโครงการ
   นางสาว ธนพร จันทร์สว่าง